เวลาโลก

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน

การสมัคร Gmail

วิธีการสมัคร Gmail


  1. เข้า เว็บไซท์ www.gmail.com
  2. คลิก ปุ่ม “สร้างบัญชี”
Image
จะปรากฏหน้าต่างสร้าง บัญชี ตามรูปที่ 2 และ 3
Image
รูปที่ 2
3.      กรอกรายละเอียดตามรูป 3 – 6
Image
รูปที่ 3
Image
รูปที่ 4
Image
รูปที่ 5
Image
รูปที่ 6

แนะนำบล็อก

บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การจัดทำบล็อคนี้ ได้รวบรวมข้อมูลเนื้อหาจากแหล่งเว็ปไซด์ต่างๆ เพื่อข้อมูลที่มีจะได้เยอะที่สุด

การจัดทำบล็อกนี้ขึ้น หวังว่าจะทำให้รับรู้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น



จัดทำโดย

นายสุขิต  ปุ่นศรี

รหัสนักศึกษา 5235046203

คณะ สัตวศาสตร์  สาขา สัตวรักษ์

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

Creative thinking

What is creative thinking?
Creative thinking is the process which we use when we come up with a new idea. It is the merging of ideas which have not been merged before. Brainstorming is one form of creative thinking: it works by merging someone else's ideas with your own to create a new one. You are using the ideas of others as a stimulus for your own.

ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร

ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการที่เราใช้เมื่อเรามากับความคิดใหม่  มันคือการรวมของความคิดที่ยังไม่ได้รับการรวมเข้าก่อน  การประชุมระดมสมองเป็นหนึ่งในรูปแบบของความคิดสร้างสรรค์ : การทำงานโดยรวมของผู้อื่นด้วยความคิดของคุณเองเพื่อสร้างใหม่    คุณกำลังใช้ความคิดของคนอื่นเป็นตัวกระตุ้นสำหรับคุณเอง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง                มีหลักพิจารณา ดังนี้
                กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
หากจะทำให้เข้าใจง่าย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน หรือ เพื่อง่ายต่อการจดจำ และนำไปปฏิบัติ
อาจเรียกว่า 3 ลักษณะ 2 เงื่อนไข ก็ได้


องค์ประกอบด้านลักษณะ ความพอเพียงต้องประกอบด้วย 3 ลักษณะ ดังนี้ความพอประมาณ
หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการยึดตนอยู่บนทางสายกลางก็เป็นได้

ความมีเหตุผล
หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึง
ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล คือการ
เตรียมพร้อมรับมือกับการแก้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

องค์ประกอบด้าน เงื่อนไข ความพอเพียงต้องอาศัย 2 เงื่อนไข ดังนี้


เงื่อนไขความรู้
ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น
มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

เงื่อนไขคุณธรรม
ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร
ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ธรรมาภิบาล

หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
          หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
         หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
         หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
          หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
         หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
         หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

เทคโนโลยีสารสนเทคกับวิถีชีวิตเศรษกิจพอเพียง

"เศรษฐกิจพอเพียง'' เป็นปรัชณาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาตลอดกว่า 30 ปี โดยเน้นการปฏิบัตื บนทางสายกลง และพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีไม่น้อยเกินไป และ ไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง นั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
      จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้าน ICT โดยมุ่งให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความพอประมาณ , ความมีเหตุผล , และความจำเป็นจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ดังนี้
1.  การนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในกิจการของผู้ประกอบการ 
2.  การนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหาร และการให้บริการของภาครัฐ 
3.  การพัฒนา และการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ใช้ประโยชน์ ICT
     ทั้งนี้ เงื่อนไข การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ 

            1.  เงื่อนไขด้านความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
           2.  เงื่อนไขด้านความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต